Maharat Nakhon Ratchasima Hospital : บทความเพื่อสุขภาพ
ป้องกันโรคท้องร่วงในช่วงน้ำท่วม
|
|
|
ขณะนี้หลายๆ จังหวัดประสบภาวะ "มหาอุทกภัย" ต้องระวังเชื้อโรคที่ปนมากับน้ำสกปรกที่ท่วมตามบ้านเรา ให้มากไม่แพ้การเฝ้าระวังระดับน้ำ เนื่องจากเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับน้ำอาจเล็ดรอดเข้ามาปะปนกับอาหารทั้งก่อนและหลังปรุงได้
ก่อนที่จะพูดถึงการเลือกซื้ออาหาร สุขอนามัยส่วนบุคคลก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นจึงควรล้างฟอกมือให้สะอาดหมดจดทั้งก่อนปรุงและก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารที่สะอาดปลอดภัย เพื่อป้องกันอาหารเป็นพิษเนื่องจากผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันต่ำร่วมกับการป้องกันการได้รับสารเคมีที่อาจปนเปื้อนมากับอาหารต่างๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ได้
การเลือกอาหารประเภทผักสดผลไม้ ควรเลือกผักที่ไม่สวยงามจนเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงยาฆ่าแมลง และอาหารที่สีต่างจากธรรมชาติ เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่ย้อมสี หรือใช้สารฟอกขาวและควรสังเกตว่าไม่มีคราบขาวของเชื้อราที่อาหาร
การเลือกซื้ออาหารทะเล ควรเลือกประเภทที่สด ปลาเหงือกแดง ตาใส ครีบหางเป็นมัน กุ้งหัวไม่หลุด เนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นเหม็น ส่วนการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ ควรเลือกประเภทที่เนื้อไม่แดงจนเกินไป ไม่มีเม็ดสาคู ไม่มีสีออกเขียวซึ่งแสดงถึงความไม่สด
นอกจากนี้การล้างเก็บสิ่งปฏิกูลก็เป็นเรื่องสำคัญต่อการกำจัดเชื้อโรค เราสามารถจัดการกับสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีง่ายๆ ลดปัญหาโรคระบบทางเดินอาหาร และโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อได้ด้วยการล้างผักผลไม้ให้สะอาด โดยล้างผ่านน้ำหลายๆ ครั้งหรือแช่ในน้ำเกลือหรือแช่ใน น้ำละลายด่างทับทิม
ล้างภาชนะให้สะอาดทุกครั้ง เช่น เขียง มีดช้อน ส้อม ถ้วย จาน แก้วน้ำ และการใช้ช้อนกลางทุกครั้งในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และผ่านการปรุงที่ถูกต้องปลอดภัย ถ้าจำเป็นต้องนำมารับประทาน อีก ควรทำให้ร้อนจึงจะปลอดภัย
ไม่ควรรับประทานอาหารที่ปรุงทิ้งไว้นาน เพราะอาจจะบูดเน่าก่อนที่เราจะนำมารับประทาน และควรต้มน้ำให้สุกทุกครั้งก่อนนำมาดื่ม โดยเฉพาะน้ำที่กดจากตู้กดน้ำทั่วไปเพราะอาจจะมีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ ควรเลือกวัตถุดิบที่ถูกสุขลักษณะ เลือกผักผลไม้ที่สดและสะอาด ใช้เวลาในการเลือกให้พิถีพิถันขึ้นเพื่อให้ได้ของที่มีคุณภาพที่สุด
นอกจากนี้ ยังต้องแยกอาหารที่เป็นวัตถุดิบและอาหารที่ปรุงสุกแล้วเพราะเนื้อสัตว์ดิบอาจจะปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียมา อาหารที่ปรุงสุกควรใส่ภาชนะ ที่ปิดสนิท ไม่ควรวางปะปนกันและควรเก็บอาหารไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสอุณหภูมิที่เชื้อโรคเติบโตได้ดีคือ 5-60 องศาเซลเซียสถ้าต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส เชื้อโรคจะไม่เจริญเติบโตแต่ไม่ตาย จึงควรอุ่นอาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็นก่อนนำมารับประทาน
| | บทความ โดย หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ | ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Center) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โทร.๐ ๔๔๒๓ ๕๐๘๓-๘๕ |
|
|
ข้อมูล ณ วันที่
29 พฤศจิกายน 2554
ประกาศโดย
นาย อธิศุทธ์ บุญเกิด
อ่านทั้งหมด 2665 ครั้ง
|
|
|
|
|
|
ข้อความ
ติดตามข่าวสาร บทความต่างๆ สอบถามปัญหาทางการแพทย์ ตารางออกตรวจ สอบถามการรับบริการจากทางโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้ทาง Social Media ต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter หรือ YouTube ได้แล้ววันนี้ แล้วคุณจะไม่พลาดการอัพเดทข้อมูลความรู้จากเรา!!!
#Admin
|
Maharat Nakhon Ratchasima Hospital : บทความเพื่อสุขภาพ
|
Maharat Nakhon Ratchasima Hospital : บทความเพื่อสุขภาพ
|
|